เทศบาลนครนครสวรรค์

ข่าวประชาสัมพันธ์


เทศบาลนครนครสวรรค์ ร่วมรณรงค์ ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5)


ฝุ่นหยาบ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมครอน หรือสั้นกว่าความยาว 1 เมตร ไปล้านเท่าหรือที่รู้จักกันในชื่อ "PM10" ฝุ่นละเอียด ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน หรือสั้นกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของ "PM10" ไปอีก 4 เท่า ที่รู้จักกันในชื่อ (PM2.5) ฝุ่น PM2.5 เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กมีอยู่ตลอดเวลาในอากาศ สามารถผ่านระบบดักจับฝุ่นของร่ายกายเข้าสู่ถุงลมปอด ก่อผลกระทบต่อสุขภาพที่ถุงลม ก่อความเจ็บป่วยเมื่อมีปริมาณมากกว่าค่าปกติ จะทำให้เซลล์บุถุงลมถูกทำลายจากภาวะที่มีออกซิเจนมากเกินไป จนทำให้ไม่สามารถ หายใจเข้าหรือออกจากปอดได้เต็มที่ และจะมีการทำลายมากขึ้นตามเวลาที่ได้รับสัมผัส ลักษณะอาการกรณีได้รับฝุ่นแล้ว อาจมีอาการเล็กน้อย เช่น แสบตา น้ำตาไหล คันจมูก น้ำมูกไหล ระคายเคืองผิวหนัง หรืออาจมีอาการรุนแรง เช่น เหนื่อย หอบ เหนื่อยง่ายขณะทำกิจกรรม หายใจเร็ว แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เจ็บหน้าอก การใช้และการเลือกหน้ากาก หลักการเลือกหน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กนั้น สามารถทำได้ โดยขอให้ประชาชนประเมิน ความเสี่ยงของตนเองก่อน ว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ และอยู่ในพื้นที่ที่มีผลการตรวจวัดฝุ่นเกินค่ามาตรฐานระดับใด โดย คนที่ใส่หน้ากาก N95 ต้องเป็นประชาชนปกติ ร่างกายแข็งแรง และจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งนาน 3-4 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน เช่น ตำรวจจราจรที่ทำงานกลางแจ้ง วินมอเตอร์ไซด์รับจ้างที่ขับขี่นานๆ คนงานที่ทำงาน ที่ก่อให้เกิดฝุ่น เป็นต้น ควรป้องกันด้วยการสวมใส่หน้ากากทีมีความสามารถในการป้องกันฝุ่นละอองขนาด เล็ก PM 2.5 ได้ ตั้งแต่มาตรฐาน N95 ขึ้นไป กรณีประชาชนทั่วไปที่ประเมินตนเองแล้วมีความเสี่ยงต่างๆ เช่น อยู่พื้นที่พักอาศัยที่ปิดสนิท ท ากิจกรรมเบาๆ ในที่พักอาศัยในบ้าน อาจยังไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากชนิด N95 เพราะอาจทำให้เกิดอาการอึดอัด ร้อน และ สามารถใส่หน้ากากอนามัยธรรมดาได้ในกรณีต้องออกนอกบ้านแต่ไม่ได้อยู่กลางแจ้งนาน(หรืออยู่ชั่วคราว) ส่วนในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวที่มีความไวต่อผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็ก ควรขอคำปรึกษากับ แพทย์ประจำตัวหรือแพทย์เจ้าของไข้ ซึ่งจะให้คำแนะนำตามสภาพของโรค ระดับอาการที่เป็น และวิธีการ รักษาที่ได้รับอยู่ คำแนะนำการดูแลสุขภาพ สามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากฝุ่นขนาดเล็กได้ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค ด้วย 10 วิธีการ 1) หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร ควรมีการใส่หน้ากากอนามัย ทั้งนี้หากต้องทำงานกลางแจ้งเป็น เวลานาน 3-4 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใส่หน้ากากกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ ประเภท “Particulate respirator” ที่มีเครื่องหมาย NIOSH ทั้งประเภท N95 หรือ P100 2) ให้อยู่ภายในอาคารบ้านเรือน หากไม่จำเป็นไม่ควรออกนอกบ้าน โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง (กลุ่ม เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด หอบหืด ภูมิแพ้ เป็นต้น) 3) หลีกเลี่ยงการออกก าลังกาย และการท างานหนักที่ออกแรงมาก เพราะการหายใจเร็วในระหว่างการ ออกก าลังกายมีโอกาสให้ร่างกายรับมลพิษเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น 4) ลดแหล่งมลพิษอื่นๆ ภายในบ้าน เช่นงดการสูบบุหรี่ การใช้เตาถ่าน การใช้สเปรย์ฉีดพ่นในบ้าน การจุด เทียน การทำอาหาร การใช้เครื่องดูดฝุ่น กวาดพื้น เป็นต้น 5) การใช้เครื่องปรับอากาศ ควรทำการปรับให้เป็นระบบที่ใช้เฉพาะอากาศหมุนเวียนภายในบ้านหรือ อาคาร และเลือกใช้แผ่นกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพกลางถึงสูง เพื่อช่วยในการลดปริมาณอนุภาคจากภายนอก เข้าสู่ภายในอาคาร 3 6) หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องผลิตโอโซน เนื่องจากความเข้มข้นของโอโซนในระดับต่างๆ ก็สามารถทำให้เกิดการ ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการไอ แน่นหรือเจ็บหน้าอก นอกจากนี้โอโซนไม่สามารถกำจัดอนุภาค ออกจากอากาศได้ 7) อาคารบ้านเรือน ให้ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดอยู่เสมอและทำความสะอาดห้องโดยการใช้ผ้าชุบน้ำ หมาดๆ ทำความสะอาด 8) ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจะต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ในการ รับประทานยา การรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการทรุดลงและหลีกเลี่ยง ไม่ให้สัมผัสกับอากาศที่มีฝุ่นละออง หรือมีการใช้หน้ากากกันฝุ่น 9) ไม่เผาขยะ โดยเฉพาะขยะที่เป็นสารพิษ เช่น พลาสติก ยางรถยนต์ รวมทั้งขยะทั่วไป และ 10) ลดการใช้รถยนต์ หรือใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ก่อปัญหาซ้ำเติม หรือทำให้ คุณภาพอากาศแย่ลงอีก วิธีการรักษาเบื้องต้น การป้องกันตนเอง คือ อาการเล็กน้อย : หลีกเลี่ยงการสัมผัส และ รักษาตามอาการเบื้องต้น อาการรุนแรง : ให้รีบไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว ทั้งนี้ ประชาชนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่ให้ตื่นตัวและติดตามข่าวสารเรื่องดังกล่าวจาก ทางราชการอย่างใกล้ชิด และสามารถประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองได้ทาง

ประกาศ วันที่ :30 มกราคม 2563
ประกาศ โดย :งานประชาสัมพันธ์